อำเภอปัวเป็นอำเภอที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของ จังหวัดน่าน เป็นอำเภอที่มีทัศนียภาพที่งดงาม รอมล้อมด้วยภูเขาเขียวขจี อากาศบริสุทธิ์ สดชื่น ผู้คนในท้องถิ่นมีมิตรภาพ และ อัธยาศัย ไมตรีที่ดี มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายหลายแห่งทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคม สามารถเดินทางท่องเที่ยวไปยังอำเภอต่างๆ เช่น อ.ท่าวังผา,เชียงกลาง ,ทุ่งช้าง ได้อย่างสะดวกสบาย และยังเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ สปป.ลาว ได้อีกด้วย

The great of peaceful culture and Thai Lue foiklore. The origin of Nan river and rich of friendly people. Pua is the one of popular choice, holiday travelling with family or friend. Pua is the center of north of Nan province. You can travel easily and enjoy many well-know tourist attractions. You will be pleasant the trip through Tha Wang Pha, Chiang Klang, Bo klua,Thung Chang and Chalerm Phra Kiat.

 

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา (Doi Phu Kha)

  อุทยานแห่งชาติดอยภูคามีพื้นที่ ครอบ คลุมในท้องที่ 8 อำเภอของจังหวัดน่าน ได้แก่ อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสันติสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และ อำเภอแม่จริม ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 1,704 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,065,000 ไร่ จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่าอันจะเห็นได้จากการพบพืชพรรณ และสัตว์ป่าหายากหลากหลายชนิด และนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดน่าน โดยมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่น่าสนใจคือ ดอกชมพูภูคาซึ่งเป็นพันธ์ไม้หายากและมีที่แห่งนี้ที่เดียวในประเทศไทย ต้นเต่าร้างยักษ์ ป่าดึกดำบรรพ์ น้ำตกภูฟ้า พิชิตยอดดอยภูแว ชมถ้ำยอดวิมาน และถ้ำผาฆ้อง

ต้นชมพูภูคา

จุดที่สามารถชมต้นชมพูภูคาได้สะดวกที่สุดอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1256 (บัว-บ่อเกลือ) ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคาประมาณ 4 กิโลเมตร โดยทางอุทยานแห่งชาติจัดทำเป็นระเบียงไม้ยื่นออกไปให้ยืนชมต้นชมพูภูคาที่ ยืนต้นสูงขึ้นมาจากหุบเขา ต้นชมพูภูคาต้นนี้เป็นต้นเดียวกับที่ ดร.ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤษศาสตร์ พบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2532 ฤดูกาลที่เหมาะสมแก่การมาชมต้นชมพูภูคา คือในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ซึ่งต้นชมพูภูคาจะออกดอกสีชมพูบานสะพรั่ง


 

 

วัดต้นแหลง (Wat Ton Laeng)

ต.ไชยวัฒนา อายุประมาณ 400 กว่าปี  เป็นวัดที่มีวิหารสวยงามโดดเด่น แปลกตา มีวิหารหลังคามุงด้วยไม้ทรงตะคุ่ม แบบไทยลื้อโบราณ จากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหนังสือเรื่องสถาปัตยกรรมวัดไทยลื้อในเขตจังหวัดน่าน ได้กล่าวถึงวัดต้นแหลงนี้ว่าเป็นวัดโบราณ สร้างมาสมัยชาวไทลื้อที่อพยพมาจากสิบสองปันนาในรุ่นแรกๆ สรุปลักษณะสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดและสำคัญของวัดต้นแหลง
1. การวางหลังคารูปทรงตะคุ่ม ลาดต่ำ และลดหลั่นกันลงมาทีละชั้นจนถึงชั้นล่าง เป็นลักษระที่วิวัฒนาการมาจากรูปแบบเดิม ที่มีความลาดเอียงมาก การแก้รูปทรงของผืนหลังคาซึ่งแผ่กว้างให้เป็นส่วนย่อยลงมา วิธีวางหน้าจั่วเน้นทิศตะวันออกและตะวันตกเป็นส่วนสำคัญของวิหารทรงตะุคุ่ม แบบนี้
2. การวางรูปทรงวิหารให้เตี้ยแจ้ โดยใช้บัวที่ฐานประดับตกแต่ง ลดความสูงรูปด้านลงพร้อมกับเจาะช่องหน้าต่างเล็กๆ แคบๆ ให้ความสำคัญกับรูปด้านซึ่งเป็นลักษณะของ "วิหารทรงโรง" อันเป็นลักษณะพิเศาของสถาปัตยกรรมล้านนา ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของไทลื้อ รูปทรงและการใช้ลวดบัวฐานตกแต่งนี้ มีใช้ไปถึงรัฐสิบสองปันนาในประเทศจีน
3. การเปิดประตูกว้างด้านทิศตะวันออก และประตูเล็กทิศเหนือและใต้ เป็นการแสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องทิศที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย การเน้นทางเข้าด้านหน้าด้วยบันไดและประตูกว้างเพื่อให้แสงรุ่งอรุณสะท้อน เข้ามาภายในวิหาร พุ่งตรงไปยังพระประธาน นับเป็นวิธีพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของช่างไทลื้อ ประตูออกด้านข้างสองด้านสำหรับพระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านเป็นการแสดงประโยชน์ ใช้สอยที่ลงตัวสมบูรณ์ เหมาะกับสภาพการใช้งานดี


วัดปรางค์( Wat Prang)

เป็นวัดที่มีพระธาตุบุญนาค ทรงระฆังคว่ำ อายุประมาณ 300 กว่าปี และยังมีต้นไม้แปลกหนึ่งเดียวในโลก คือ "ต้นดิกเดียม"  เป็นต้นไม้ที่เมื่อเอามือสัมผัส บริเวณลำต้น ใบของต้นไม้ก็จะสั่นไหว

สิ่งสำคัญภายในวัดปรางค์
พระธาตุบุญนาค ไม่ ปรากฎหลักฐานปีที่เริ่มสร้างแน่ชัด จากรูปแบบ สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 22 - 23 โดยประมาณ มีความเชื่อกันว่ามีพระธาตุบรรจุอยู่ในพระเจดีย์ เจดีย์สร้างเป็นลักษณะทรงระฆังแบบพิเศษ ส่วนฐานเป็นชั้นหน้ากระดานใหญ่รองรับชั้นหน้ากระดานเล็กๆ เรียงซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น ถัดไปเป็นฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จรับองค์ระฆัง ซึ่งมีลักษณะคล้ายรูปพุ่ม ตอนบนสุดทำเป็นปล้องไฉนและปลียอด (เข้าใจว่าคงซ่อมใหม่ในชั้นหลัง) สัดส่วนของฐานและรูปทรงอาจได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์ธาตุหมากโม วัดวิชุนราช เมืองหลวงพระบาง ของศิลปะลาว อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 แต่ได้ดัดแปลงรูปแบบโดยเพิ่มชั้นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมเตี้ยๆ ซ้อนกันสามชั้นแทนบัวถลา ย่อเก็จบนฐานลูกแก้วตามแบบเจดีย์ศิลปะล้านนา และเพิ่มปล้องไฉนกับปลียอดขึ้นมาอีกส่วนหนึ่ง แสดงถึงพัฒนาการทางรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะหลัง พระธาตุบุญนาคนี้ กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตเป็นโบราณสถานไว้แล้ว

ต้นจิเดียมหรือต้นดิ๊กเดียม (ภาษา ไทลื้อ) เป็นต้นไม้ใหญ่ มีดอกเป็นสีเหลืองอ่อน โคนดอกจะเป็นสีเหลืองแก่ ลักษณะคล้ายกับดอกลั่นทม ปลูกอยู่หน้าวิหารวัดปรางค์ ซึ่งมีเพียงต้นเดียว ลักษณะที่แปลกก็คือ เมื่อมีคนเอามือไปเกาไว้ที่ลำต้น กิ่ง และใบของต้นดิกเดียมจะแกว่งสั่นไหว ทั้งๆ ที่ไม่มีลมพัดแต่ประการใด


วัดร้องแง(Wat Rong Ngae)

เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2310 โดยการนำของเจ้าหลวงเทพพญาเลนเจ้าช้างเผือกงาเขียว เดิมปกครองอยู่ที่เมืองลิน เป็นคนไทยกลุ่มหนึ่งที่พูดภาษาลื้อ เมืองลินอยู่ในเขตปกครองของแคว้นสิบสองปันนา มีพญาแสนเมืองแก้วเป็นผู้ปกครอง ต่อมาได้เกิดศึกสงคราม ศัตรูเข้ารุกรานเมืองจนกระทั่งพญาแสนเมืองแก้วต้านทานไม่ไหว เจ้าหลวงเทพพญารินเจ้าช้างเผือกงาเขียว จึงได้มาช่วยต้านทานทัพศัตรูไว้พร้อมด้วยแม่ทัพนายกอง 4 นาย คือ ท้าวแก้วปันเมือง ท้าววรรณะ ท้าวเหล็กไฟ และท้าวเต๋อ แต่สู้ไม่ไหวจึงแตกทัพรวบรวมไพร่พลหนีมาพร้อมกับเสนาทั้ง 4 ถอยร่นลงมาจนถึงบริเวณใกล้กับลำน้ำล่องแง (ใกล้ลำน้ำมีต้นแงซึ่งมีลักษณะผลคล้ายกับผลส้มจึงเรียกว่าลำน้ำล่องแง) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อลำน้ำต่อมาการเรียกผิด เพี้ยนไป จึงกลายเป็นบ้านร้องแง และเมื่อสร้าง วัดจึงได้ใช้ชื่อหมู่บ้านเป็นชื่อวัดไปด้วย วัดร้องแง ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองน่านแล้วเมื่อปี พ.ศ.2310 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2470 เมื่อปี 2550 วัดร้องแงได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เป็นรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม โดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

หมู่บ้านไทย ลื้อที่โดเด่นด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งวัฒนธรรมประเพณีที่ยังคงไว้ให้ได้ ชื่นชม  ชาวบ้านร้องแงช่วยกันอนุรักษ์โบราณวัตถุและรักษาวัฒนธรรมไทยลื้อของตนไว้ เป็นอย่างดี จนได้รับรางวัลกินรี แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมภาคเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2551 จากรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 7 โดยการท่องเที่ยวแหงประเทศไทย

ชาว บ้านมีลานวัฒนธรรมการแต่งกายอย่างไทยลื้อ ทอผ้าใช้เอง ลักษณะบ้านเรือนแบบไทยลื้อ มีภาษาพูดเป็นของตนเองที่เป็นลักษณะเด่น และที่สำคัญมีโบราณสถานและแหล่งโบราณที่น่าสนใจหลายอย่าง หมู่บ้านตั้งอยู่เส้นทางขึ้นดอยภูคา


วัดพระธาตุเบ็งสกัด (Wat Phathat Beang Sakud)

ประวัติความเป็นมาของชุมชนโบราณเมืองปัวนี้ตามตำนานและพงศาวดารได้บ่งบอก ให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับชุมชนบริเวณตอน ใต้ ภูเพียงแช่แห้ง และเมืองน่าน ในลักษณะที่เป็นชุมชนโบราณต้นกำเนิดของอารยธรรมในเขตจังหวัดน่าน ก่อนที่จะอพยพเคลื่อนย้ายไปตั้งเมืองใหม่ทางตอนใต้ดังกล่าว
จากหลักฐานหลายๆด้าน ทำให้เชื่อว่าบริเวณวัดพระธาตุเบ็งสกัด เป็นศูนย์กลางของเมืองปัวในอดีตและคำอธิบายเกี่ยวกับต้น กำเนิดของบรรพบุรุษของชุมชนแห่งนี้ ก็มีออกมาในลักษณะของตำนานกล่าวคือมีนายพรานผู้หนึ่งได้ขึ้นไปล่าสัตว์บนดอย ภูคา ได้ไข่ขนาดลูก มะพร้าวมาสองฟอง จึงนำมาถวายแก่พระญาภูคาผู้ครองเมืองย่าง เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวจึงกลายเป็นทารกชาย ๒ ?คน คือขุนนุ่น และขุนฟอง ซึ่งพระญาภูคาก็ได้เลี้ยงจนเติบใหญ่ และสร้างบ้านเมืองให้อยู่ปกครองผู้คนในบริเวณนั้นคือ เมืองเวียงจันทร์ (หลวงพระบาง) ให้แก่ขุนนุ่นผู้พี่ และเมือง วรนครหรือเมืองปัวให้แก่ขุนฟองผู้น้อง

วัดพระธาตุเบ็งสกัดซึ่งภายในวัดนี้มีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ที่เชื่อกันว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และวิหารทรงพ้นเมืองที่มีส่วนประดับตกแต่งซุ้มประตูเป็นแบบศิลปลาวล้านช้าง จึงได้ประกาศขึ้นเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติในราช กิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๑ ตอนที่ ๖๕ ลงวันที่ ๒๔ ?ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๗? ?แต่สิ่งก่อสร้างและโบราณวัตถุภายในวัดไม่มีสิ่งใดที่จะมีอายุเก่าแก่เท่า กับเวลา ที่ระบุไว้ในพงศาวดารเมืองน่าน คือในราวตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙


 

วังศิลาแลง (Wang Sila Lang)

"วังศิลาแลง" อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสุดมหัศจรรย์ของอำเภอปัวที่ได้รับการขนานนามให้เป็น "แกรนด์แคนยอนเมืองปัว" หรือเรียกอีกอย่างว่า "Unseen เมืองน่าน" โดยวังศิลาแลงนั้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติที่สำคัญของตำบลศิลาแลง อยู่ในเขตพื้นที่ของบ้านหัวน้ำ 1 ใน 7 หมู่บ้าน ของตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน และอยู่ห่างจากตัวอำเภอปัวไป ประมาณ 7 กิโลเมตร

วังศิลาแลง อยู่ ห่างจากเทศบาลศิลาแลง ประมาณ 3 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นธารน้ำไหลผ่านซอกหินผาที่มีลำน้ำกูนไหลผ่านและกัดเซาะจนเป็น ร่องรอยตามการหมุนวนของน้ำ ประกอบด้วยวังน้ำและโตรกผาเป็นช่วงๆ โดยมีวังน้ำประมาณ 7 วัง รวมระยะทางมากกว่า 400 เมตร ในช่วงฤดูแล้งจะมองเห็นความสวยงามของวังน้ำและโตรกผาได้อย่างชัดเจนและ สามารถเล่นน้ำได้ค่ะ

สำหรับการเดินทางไปชมความสวยงามของวังศิลาแลงนั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาเยือนโดยรถยนต์ส่วนตัว โดยเริ่มเดินทางจากตัวอำเภอปัวขับรถไปตามเส้นทางปัว-น้ำตกศิลาเพชรอีก 6.7 กิโลเมตร จะถึงฟาร์มเห็ดบ้านหัวน้ำ จากฟาร์มเห็ดหัวน้ำ เดินเท้าต่ออีก ซักประมาณ 15 นาที


 

กลุ่มทอผ้าไทลื้อ (Thai Lue)

เป็นหมู่บ้านที่การทอผ้า จากภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ ผ้าทอมีความสวยงาม มีเอกลักษณ์  และมีการดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายให้ได้เลือกซื้อ

 


หมู่บ้านป่ากลาง (Pha Karng Village)

เป็นหมู่บ้านที่เป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินแท้  โดยช่างฝีมือดี  คุณภาพดี  มีให้เลือกมากมายหลากหลายรูปแบบ   ราคาไม่แพง และที่นี่ยังแหล่งผลิตผ้าปักมือชาวเขา   ที่มีคุณภาพดี  มีความสวยงาม  อีกด้วย

เครื่องเงิน/เครื่องประดับของชนเผ่า ในตำบลป่ากลางทั้งเผ่าม้ง ,เผ่าเมี่ยน และเผ่าลัวะ นิยมประดิษฐ์เครื่องเงิน/เครื่องประดับ มาใช้สวมใส่กันเองกันในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ม้ง เป็นต้น โดยการตอกลวดลายบนแผ่นเงินที่รีดออกมาโดยการตอกลวดลายตามต้องการ การตอกลวดลายต้องอาศัยความชำนาญของช่างฝีมือชาวบ้านในตำบลป่ากลาง


 

น้ำตกศิลาเพชร (Sirapet Walter Fall)

น้ำตกศิลาเพชรตั้งอยู่อยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา บ้านดอนทรายทองหมู่ที่ 8 ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน น้ำตกศิลาเพชรเป็นน้ำตกขนาดใหญ่มี 3ชั้น และเป็นน้ำตกที่เกิดขึ้นในลำน้ำย่างซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของตำบล น้ำตกศิลาเพชรเป็นน้ำตกไหลลงมาจากหน้าผาหลายชั้น ลดหลั่นกันไปเหมาะกับการเล่นน้ำ เป็นสถานที่ที่สวย เหมาะสำหรับ พักผ่อนย่อนใจแห่งหนึ่งสำหรับคอรบครัวโดยน้ำตกเกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยมีน้ำจากลำห้วยหลายสาย
ไหลมารวมกัน เป็นลำน้ำผ่านโขดหิน และตกลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ อย่างสวยงามนอกจากนี้แล้วน้ำตกศิลาเพชร ยังเป็นแหล่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในการนำสินค้าชุมชนออกจำหน่ายตามรายทางอีกด้วย

การเดินทาง น้ำตกศิลาเพชร ตั้งอยู่ที่ บ้านป่าตอง ตำบลศิลาเพชร ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 71 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 1080 สายน่าน-ปัว ก่อนถึงอำเภอปัว ตรงหลักกิโลเมตรที่ 41-42 มีทางแยกขวามือเข้าทางหลวงหมายเลข 1170 ไปประมาณ 10 กิโลเมตร


 

ถ้ำผาฆ้อง (Tum Phakhong)

เป็นถ้ำขนาดกลางบริเวณปาก ถ้ำจะมีขนาดเล็ก ภายในถ้ำจะมีหินงอกหินย้อยและลำธารไหลผ่าน แต่ช่วงฤดูฝนไม่สามารถเข้าชมได้ เนื่องจากอาจมีน้ำท่วมในถ้ำอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ประมาณ ๗กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ ๒กิโลเมตร ในถ้ำมีคูหาซึ่งมีหินงอกหินย้อย มีทางน้ำไหลผ่าน พื้นถ้ำเป็นดินเหนียวลื่นมาก ไม่ควรเข้าชมในช่วงฤดูฝนเพราะอาจมีน้ำท่วมในถ้ำ ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง


ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปถ้ำผาฆ้อง

ใช้ ทางหลวงหมายเลข 1256 สู่อำเภอปัวประมาณกิโลเมตรที่ 18 มีทางแยกสู่โรงเรียนนาสวรรค์ บ้านป่าไร่ ต้องจอดรถไว้ที่โรงเรียนแล้วเดินเท้าไปประมาณ 3.5 กิโลเมตร


 

น้ำตกตาดหลวง (Tad Luang Waterfall)

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: บ้านห้วยหาด หมู่ที่ 7-บ้านห้วยหลักลาย หมู่ที่ 8 เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากร แหล่งต้นน้ำให้มีความสมบูรณ์และศึกษาวิธีชีวิตและความเป็นอยู่ของราษฎร์ใน เชิงการเกษตร เดินดูน้ำตก สัตว์ป่า บริเวณนี้เป็นจุดเด่นของน้ำตกตาดหลวงเพราะนักท่องเที่ยวสามารถลงไปเล่นน้ำได้ ท่ามกลางธรรมชาติ และสายน้ำที่ไหลตามโขดหิน


ตั้งอยู่ที่ ตำบลตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน


 

น้ำตกต้นตอง (Ton Tong Waterfall)

เป็นน้ำตกหินปูนความสูงรวมทั้งหมดประมาณ 60 เมตร แบ่งออกเป็น 3 ชั้น น้ำจะไหลดิ่งลงมาตามโตรกผาสูงโดยมีแนวหินปูนน้อยใหญ่วางตัวสลับกันเป็นขั้นๆ เพื่อชะลอแรงน้ำและยังทำให้น้ำตกต้นตองมีความสวยงามมากขึ้นไปอีก ทางเดินของเราจะมาสุดอยู่ที่บริเวณชั้น 1 ของน้ำตก ส่วนการขึ้นไปชมชั้นอื่นๆ ของน้ำตกนั้นไม่มีเส้นทางเดินที่จัดเตรียมไว้ เนื่องจากผาหินที่สูงชันบวกกับกระแสน้ำที่ค่อนข้างแรงถึงแม้จะอยู่ในช่วง หน้าแล้งก็ตาม ทางอุทยานฯ จึงไม่แนะนำให้นักท่องเที่ยวปีนป่ายขึ้นไปบนน้ำตก เพราะเกรงว่าจะเกิดอันตรายได้ ดังนั้นเราจึงต้องเก็บความซนแบบเด็กๆ ไว้กับตัว และเดินชมแค่บริเวณน้ำตกในช่วงชั้นแรกๆ เท่านั้น ด้วยความที่น้ำตกต้นตองแห่งนี้ซ่อนตัวอยู่กลางหุบเขาที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้น อยู่แน่นขนัดจนแสงแดดส่องผ่านมาได้เพียงรำไร เราจึงได้เห็นตะไคร่น้ำ พืชตระกูลมอสและเฟิร์นเกาะตามโขดหินจนเขียวไปหมด